สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
1. ด้านกายภาพ
1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล
ที่ตั้งของหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลจอมทอง
ตำบลบ้านหลวง ประกอบด้วย
หมู่ที่ 1 บ้านแท่นคำ (พื้นที่ทั้งหมด)
หมู่ที่ 2 บ้านลุ่มใต้ (พื้นที่ทั้งหมด)
หมู่ที่ 3 บ้านหลวงใต้ (พื้นที่ทั้งหมด)
หมู่ที่ 4 บ้านแม่กลาง (พื้นที่ทั้งหมด)
ตำบลดอยแก้ว ประกอบด้วย
หมู่ที่ 1 บ้านแม่กลางป่าปู (พื้นที่บางส่วน)
หมู่ที่ 2 บ้านดอยแก้ว (พื้นที่บางส่วน)
ตำบลข่วงเปา ประกอบด้วย
หมู่ที่ 4 บ้านข่วงเปา (พื้นที่ทั้งหมด)
หมู่ที่ 5 บ้านฮ่อม (พื้นที่บางส่วน)
หมู่ที่ 6 บ้านสี่แยกน้อย (พื้นที่ทั้งหมด)
หมู่ที่ 9 บ้านสันป่าซาง (พื้นที่บางส่วน)
หมู่ที่ 11 บ้านรวมน้ำใจข่วงเปา (พื้นที่ทั้งหมด)
สำนักงานเทศบาลตำบลจอมทอง
ตั้งอยู่เลขที่ 299 หมู่ 4 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
- โทรศัพท์ 053-341892
- โทรสาร 053-342273
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
ภูมิประเทศของเทศบาลมีลักษณะเป็นที่ราบ ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนบน เป็นพื้นที่สำหรับที่อยู่อาศัยประมาณ 60 % เป็นพื้นที่สำหรับการเกษตร 35 % และมีพื้นที่ส่วนอื่น 5% มี 3 ฤดูกาล (ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว)
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะอากาศมีลักษณะร้อนชื้น อากาศเปลี่ยนแปลงไปตามฤดู ซึ่งมี 3 ฤดู ดังนี้
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมฝ่ายใต้ อากาศร้อนและแห้งแล้ง แต่บางครั้งอาจมีอากาศเย็น บางครั้งเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงหรืออาจมีลูกเห็บตกก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนทุกปี เรียกว่า “พายุฤดูร้อน” อากาศร้อน จะมีอุณหภูมิระหว่าง 35 – 39.6 องศาเซลเซียส ร้อนจัด มีอุณหภูมิประมาณ 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม จนถึงเดือนตุลาคม แต่อาจเกิด“ช่วงฝนทิ้ง” ซึ่งอาจนานประมาณ 1 – 2 สัปดาห์หรือบางปีอาจเกิดขึ้นรุนแรงและมีฝนน้อยนานนับเดือน แต่ในเขตเทศบาลไม่เคยเกิดอุทกภัยรุนแรง มีฝนตกเฉลี่ยประมาณ 900 มิลลิเมตร
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน นานราว 1 - 2 สัปดาห์ เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว อากาศแปรปรวนไม่แน่นอน อาจเริ่มมีอากาศเย็นหรืออาจยังมีฝนฟ้าคะนอง อากาศหนาวอุณหภูมิต่ำสุด ประมาณ 9.7 องศา
1.4 ลักษณะของดิน
ลักษณะดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย ประมาณ 75% ดินลูกรังประมาณ 15 % ลักษณะดินในพื้นที่เป็นดินเหนียวประมาณ 10 %
1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ
1) หนอง บึง อ่างเก็บน้ำ จำนวน 4 แห่ง ได้แก่
1. หนองหลวง ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านหลวง
2. หนองใต้ ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 1 , หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านหลวง
3. หนองด้าง ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 5 , หมูที่ 9 ตำบลข่วงเปา
4. อ่างเก็บน้ำห้วยใส่เหล้า หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านหลวง
2) แม่น้ำ คลอง ลำธาร ห้วย จำนวน 5 แห่ง ได้แก่
1. แม่น้ำแม่กลาง
2. ลำเหมืองหลวง
3. ลำเหมืองกลางบ้าน
4. ลำเหมืองแมด
5. ลำเหมืองม้า
3) แหล่งน้ำชลประทาน จำนวน 1 แห่ง ได้แก่
1. สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านแท่นคำ (สำหรับพื้นที่ชลประทาน 2,210 ไร่)
(ข้อมูลแหล่งน้ำชลประทาน ที่มา : โครงการบริหารจัดการน้ำจังหวัดเชียงใหม่)
พื้นที่ในเขตเทศบาลตำบลจอมทอง มีปริมาณน้ำจากการกักเก็บน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ ทั้งนี้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติส่วนใหญ่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกเป็นหลัก รองลงมาเป็นการนำไปใช้สำหรับอุปโภคบริโภค ส่วนอุตสาหกรรมในครัวเรือนนั้น มีการนำไปใช้ประโยชน์น้อย
1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้
ในเขตเทศบาลไม่มีป่าไม้ แต่มีต้นไม้ที่ชาวบ้านปลูกลักษณะของไม้เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ
2. ด้านการเมือง/การปกครอง
เทศบาลมีจำนวนหมู่บ้านในเขตเทศบาล ทั้งหมด 11 หมู่บ้าน ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดซื้อจัดจ้างของเทศบาล ประชาชนให้ความร่วมมือด้านการเลือกตั้งเป็นอย่างดี เช่น การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล ในปี พ.ศ. 2555 ประชาชนมาใช้สิทธิเลือกตั้ง จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งนายกเทศมนตรี 6,184 คน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น 8,058 คน คิดเป็นร้อยละ 76.74 จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล 6,178 คน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น 8,046 คน คิดเป็นร้อยละ 76.78 ในช่วงการเลือกตั้งเทศบาลได้ขอความร่วมมือ ผู้นำ เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ให้ระมัดระวังสอดส่องพฤติกรรมและรายงานให้อำเภอทราบ การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง เกี่ยวกับข้อกฎหมายของการเลือกตั้งที่กระทำได้และทำไม่ได้ให้ประชาชนได้รับทราบ ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นเทศบาลก็ได้พยายามแก้ไข โดยเรื่องจากการประชุมประชาคมท้องถิ่นทุกชุมชนในเขตเทศบาล ในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล จากผลการประชุมทุกครั้งที่เทศบาลจัดขึ้น มีประชาชนสนใจเข้าร่วมประชุมรวมทั้งแสดงความคิดเห็นที่หลากหลาย ส่งผลให้เทศบาลดำเนินงานตามความต้องการของประชาชน และประชาชนได้รับและมีส่วนร่วมในการพัฒนาเทศบาล นอกจากนี้เทศบาลได้จัดโครงการอบรมศึกษา ดูงาน ของคณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล พนักงานเทศบาล และองค์กรเครือข่ายชุมชน และโครงการอื่นๆ สำหรับประชาชนอีกหลายโครงการ เพื่อนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาพัฒนาเทศบาลให้เจริญเท่าเทียมกับเทศบาลอื่นๆ และเทศบาลมีโครงการจัดซื้อเครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติงานให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ โครงการบางโครงการ
ต้องระงับไว้เนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณ มีอัตรากำลังพนักงานเทศบาลจำกัด ไม่เพียงพอต่อการตอบสนองความต้องการของประชาชนในด้านบริการ โดยเทศบาลแบ่งเขตการปกครอง ดังนี้
2.1 เขตการปกครอง
เทศบาลตำบลจอมทอง แต่เดิมเป็นสุขาภิบาลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และได้เปลี่ยนฐานะเป็นเทศบาลตำบลบ้านหลวง ตามพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาล
เป็นเทศบาล พ.ศ.2542 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 แต่เนื่องจากชื่อ “เทศบาลตำบลบ้านหลวง” ไปพ้องกับชื่อของ “องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหลวง” ทำให้ประชาชนที่ไม่ทราบเกิดความเข้าใจผิด จังหวัดเชียงใหม่จึงมีคำสั่งให้เปลี่ยนชื่อเป็น “เทศบาลตำบลจอมทอง” เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2543 และต่อมาเมื่อวันที่ 7 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2554 กระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศเปลี่ยนแปลงแนวเขตเทศบาลตำบลจอมทอง ซึ่งแต่เดิมครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบล 10 หมู่บ้าน มีพื้นที่ 3.82 ตารางกิโลเมตร
เป็นครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบล 11 หมู่บ้าน พื้นที่ทั้งหมด 6.12 ตารางกิโลเมตร ระยะห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ประมาณ 60 กิโลเมตร
อาณาเขตของเทศบาลตำบลจอมทอง
ทิศเหนือ จดหลักกิโลเมตรที่ 1 หน้าวัดข่วงเปา หมู่ 11 ต.ข่วงเปา
ทิศใต้ จดหลักกิโลเมตรที่ 60 ถนนสายเชียงใหม่ - ฮอด
ทิศตะวันออก ติดต่อบ้านสันป่าซาง หมู่ 9 ต.ข่วงเปา ลำน้ำปิง และ บ้านท่าหลุก หมู่ 4 ต. สบเตี๊ยะ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
ทิศตะวันตก จดหมู่ 13 ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
2.2 การเลือกตั้ง
เดิมเทศบาลได้แบ่งเขตการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีตำบลจอมทอง ทั้งเขตเทศบาลเป็น 1 เขตเลือกตั้ง สมาชิกสภาออกเป็น 2 เขต ดังนี้
เขตเลือกตั้งที่ 1 ประกอบด้วย ชุมชน หมู่ที่ 1 ,2 ตำบลดอยแก้ว หมู่ที่ 1,2,3,4 ตำบลบ้านหลวง
เขตเลือกตั้งที่ 2 ประกอบไปด้วย ชุมชน หมู่ที่ 4 , 5, 6, 9, 11 ตำบลข่วงเปา
ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลจอมทองส่วนใหญ่ร่วมกิจกรรมทางการเมืองเสมอมาและประชาชนในเขตเทศบาลยังมีส่วนร่วมในการบริหารงาน การช่วยเหลืองานเทศบาล เสนอแนะในกิจกรรม
ของเทศบาลในการดำเนินงานต่างๆ เช่น การประชุมประชาคมในการจัดแผนพัฒนาเทศบาลประชุมประชาคมแก้ไขปัญหาความยากจน ฯลฯ
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (ข้อมูลเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555)
- จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งนายกเทศมนตรี 8,058 คน
- จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล 8,046 คน
จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ครั้งล่าสุด (พ.ศ. 2555)
- จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งนายกเทศมนตรี 6,184 คน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น 8,058 คน คิดเป็นร้อยละ 76.74
- จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล 6,178 คน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น 8,046 คน คิดเป็นร้อยละ 76.78
ปัจจุบันนายกเทศมนตรีและสมาชิกมาจากคำสั่ง คสช. และปัจจุบันยังไม่มีการเลือกตั้ง
3. ประชากร
3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
(ข้อมูล ณ วันที่ 14 มิถุนายน 2562)
3.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร
จำนวนประชากร |
ชาย |
หญิง |
รวม |
อายุต่ำกว่า 18 ปี |
642 |
597 |
1,239 |
อายุ 18 – 60 ปี |
2,556 |
2,815 |
5,371 |
อายุมากกว่า 60 ปี |
1,135 |
1,604 |
2,739 |
รวม |
4,333 |
5,016 |
9,349 |
( ที่มา : สำนักทะเบียนฯเทศบาลตำบลจอมทอง)
4. สภาพทางสังคม
4.1 การศึกษา
การบริการทางการศึกษาภายในเขตเทศบาลตำบลจอมทอง มีตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาถึงประถมศึกษาตอนปลาย สถาบันการศึกษาภายในเขตเทศบาลมีดังต่อไปนี้
โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ เขต 6
มีจำนวน 1 แห่ง คือ
-โรงเรียนศรีจอมทอง จำนวนครู/บุคลากรและนักเรียนในสังกัด แยกเป็น
- ระดับก่อนประถม จำนวน 379 คน
- ระดับประถมศึกษา จำนวน 1,286 คน
- ครู/บุคลากร จำนวน 76 คน
โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มีจำนวน 1 แห่ง คือ
- โรงเรียนเทศบาลจอมทอง 1 (ชุมชนบ้านข่วงเปาเหนือ) จำนวนครู/บุคลากรและนักเรียนในสังกัดแยกเป็น
- ระดับก่อนประถม จำนวน 80 คน
- ระดับประถมศึกษา จำนวน 199 คน
- ครู/บุคลากร จำนวน 21 คน
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลจอมทอง มีจำนวน 1 แห่ง
-นักเรียน จำนวน 83 คน
-ครู/บุคลากร จำนวน 8 คน
สถานศึกษาเอกชน มีจำนวน 1 แห่ง คือ
1. โรงเรียนอนุบาลสุทธิวงศ์ดำรงวิทย์
สถานรับเลี้ยงเด็ก (เอกชน) จำนวน 3 แห่ง คือ
1. บ้านเด็กเนอร์สเซอรี่
2. ธิดาเนอร์สเซอรี่
โดยเทศบาลตำบลจอมทอง ได้บริการในด้านอาหารเสริมนม อาหารกลางวันและสนับสนุนด้านการศึกษาหลาย ๆ ด้าน
( ที่มา : กองการศึกษาเทศบาลตำบลจอมทอง)
4.2 สาธารณสุข
⇒ แพทย์ จำนวน 34 คน
⇒ พยาบาล จำนวน 174 คน
⇒ ทันตแพทย์ จำนวน 8 คน
⇒ เภสัชกร จำนวน 17 คน
⇒ อาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 206 คน
⇒ คลินิกหมอโอภาส
⇒ คลินิกหมออภิชัย
⇒ คลินิกจอมทองรวมแพทย์
⇒ คลินิกหมอสัมพันธ์
⇒ คลินิกเวชกรรม หมอไกรพ
⇒ พิชญ์กัญญา คลินิกเวชกรรม
⇒ คลินิกโรคกระดูกและข้อ
⇒ หมอมวลชน
⇒ คลินิกทันตกรรมจอมทอง
⇒ คลินิกเด็กหมอเดียร์ (หมอมณฑิรา)
⇒ คลินิกแพทย์ทสร
⇒ คลินิกตาหมอกรกมล
⇒ คลินิกหมอสุภานน
⇒ ผู้เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลสังกัด (จำนวนต่อปี)
(เฉพาะประชากรในเขตเทศบาล)
- ผู้ป่วยใน 1,208 ราย/ปี
- ผู้ป่วยนอก 6,425 ราย / 44,948 ครั้ง
คิดเป็นงบประมาณในการรักษาทั้งสิ้น 785,298 บาท
คิดเป็นงบประมาณในการรักษาทั้งสิ้น 19,262,129 บาท
(ข้อมูลจากโรงพยาบาลจอมทอง ณ เดือนพฤษภาคม 2562)
4.3 อาชญากรรม
เทศบาลไม่มีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้น จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ส่วนมากครัวเรือนมีการป้องกันอุบัติภัยอย่างถูกวิธี มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เทศบาลสามารถดำเนินการได้ตามอำนาจหน้าที่และงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด คือการติดตั้งกล้องวงจรปิดในจุดที่เป็นที่สาธารณะ ติดตั้งสัญญาณไฟกระพริบทางร่วม ทางแยก รวมทั้งได้ตั้งจุดตรวจ จุดสกัด จุดบริการ ในช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดหลายวันเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน แต่ปัญหาที่พบเป็นประจำคือการทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่นโดยเฉพาะในสถานที่จัดงานดนตรี งานมหรสพ เป็นปัญหาที่ชุมชนได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก การแก้ไขปัญหา คือการแจ้งเตือนให้ผู้ปกครองดูแลบุตรหลานของตน ประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงผลกระทบ ผลเสียหาย และโทษที่ได้รับจากการเกิดเหตุทะเลาะวิวาท การขอความร่วมมือไปยังผู้นำ การขอกำลังจาก ตำรวจ ผู้นำ อปพร. เพื่อระงับเหตุไม่ให้เกิดความรุนแรง แต่จะไม่ให้เกิดขึ้นเลยยังเป็นปัญหาที่ปัจจุบันไม่สามารถที่จะแก้ไขได้ ทั้งที่มีการร่วมมือกันหลายฝ่าย เป็นเรื่องที่ทางเทศบาลจะต้องหาวิธีที่จะแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนต่อไปตามอำนาจหน้าที่ที่สามารถดำเนินการได้
4.4 ยาเสพติด
ปัญหายาเสพติดในชุมชนของเทศบาล จากการที่ทางสถานีตำรวจภูธรจอมทองได้แจ้งให้กับเทศบาลทราบนั้น พบว่าในเขตเทศบาลมีผู้ที่ติดยาเสพติดแต่เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นถือว่าน้อย และยังไม่พบผู้ค้า เหตุผลเนื่องมาจากว่าได้รับความร่วมมือกับทางผู้นำ ประชาชน หน่วยงานของเทศบาลที่ช่วยสอดส่องดูแลอยู่เป็นประจำ การแก้ไขปัญหาของเทศบาลสามารถทำได้เฉพาะตามอำนาจหน้าที่เท่านั้น เช่น การณรงค์ การประชาสัมพันธ์ การแจ้งเบาะแส การฝึกอบรมให้ความรู้ ถ้านอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ ก็เป็นเรื่องของอำเภอหรือตำรวจแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เทศบาล
ก็ได้ให้ความร่วมมือมาโดยตลอด
4.5 การสังคมสังเคราะห์
เทศบาลได้ดำเนินการด้านสงคมสังเคราะห์ ดังนี้
1. ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์
2. รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
3. ประสานการทำบัตรผู้พิการ
4. ตั้งโครงการช่วยเหลือผู้ยากจน ยากไร้ รายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาสไร้ที่พึ่ง
5. ระบบบริการพื้นฐาน
5.1 การคมนาคมขนส่ง
ถนน สายสำคัญที่ใช้ติดต่อกับหน่วยงานอื่น ๆ คือ ถนนสายเชียงใหม่ – ฮอด (ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108) และถนนสายน้ำตกแม่กลาง (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1009)
ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง ถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลจอมทอง มีทั้งหมด 72 สาย แยกเป็น
ถนนประเภท |
ความกว้าง (ม.) |
ความยาว (กม.) |
ถนนลูกรัง ถนนลาดยาง ถนนคอนกรีต |
3.00 – 6.00 3.00 – 6.00 3.00 – 6.00 |
18.423 8.872 2.65 |
ทางแยกที่มีสัญญาณไฟจราจร 2 แห่ง นอกเขตจำนวน 2 แห่ง
สะพาน จำนวน 7 แห่ง เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก 7 แห่ง สะพานไม้ - แห่ง
(ข้อมูลจากกองช่าง เทศบาลตำบลจอมทอง)
การจราจร ใช้ทั้งถนนทางหลวงแผ่นดินและถนนของเทศบาล ในการสัญจรซึ่งยังมีปัญหาในเรื่องของถนนคับแคบในย่านชุมชน ไม่สามารถขยายถนนได้เนื่องจากมีการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ติดกับถนน ทำให้ยานพาหนะที่สัญจรไปมาในเวลาเร่งด่วนไม่คล่องตัว มีการกำหนดการจอดรถวันคู่ วันคี่ กำหนดช่วงเวลาจอดรถในถนนย่านสำคัญ ๆ และตามจุดแยกบางแห่งยังขาดสัญญาณเตือนภัย ไม่มีที่จอดรถเฉพาะต่างหากเพราะไม่มีพื้นที่ ประกอบกับพื้นที่ถนนคับแคบ การควบคุมการจราจร อยู่ในความรับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธรจอมทอง
ทางบก การคมนาคมขนส่ง ในเขตเทศบาลสามารถติดต่อกับอำเภออื่น ๆ ได้สะดวกโดยมีรถโดยสารประจำทาง ได้แก่
5.2 การไฟฟ้า
การขยายเขตไฟฟ้า ปัจจุบันมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน คิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ ปัญหาคือไฟฟ้าส่องสว่างทางหรือที่สาธารณะยังไม่สามารถดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ได้ทั้งหมด
เนื่องจากพื้นที่ที่มีความต้องการให้ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างนั้นยังไม่เป็นที่สาธารณะ เทศบาลจึงไม่สามารถดำเนินการได้เช่นเดียวกับถนน การแก้ปัญหาคือ ประสานความร่วมมือกันในหลายๆ
ฝ่ายเพื่อที่จะทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ และวิธีการที่จะดำเนินการแก้ไขอย่างไร ทั้งนี้ เทศบาลก็ได้ตั้งงบประมาณในส่วนนี้ไว้แล้ว และได้แจ้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบ
ถึงเหตุผลเพื่อที่จะได้ช่วยกันแก้ไขปัญหาให้กับชุมชน ปัจจุบันในเขตเทศบาลมีไฟฟ้าใช้ ดังนี้
(1) จำนวนครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้า 4,362 หลังคาเรือน
(2) ไฟฟ้าสาธารณะ จำนวน 1,500 จุด ครอบคลุมถนนทุกสายในเขตเทศบาล
5.3 การประปา
เทศบาลมีกิจการประปาเป็นของเทศบาลเอง สามารถให้บริการได้ครอบคลุมทุกหลังคาเรือน คิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ และมีน้ำใช้ตลอดทั้งปี ปัญหาคือมีข้อร้องเรียนเรื่องน้ำประปาขุ่น
บ่อยครั้ง สาเหตุเนื่องจากเป็นท่อประปาเก่าเกิดการตกตะกอนของน้ำ ปัจจุบันเทศบาลยังไม่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำสามารถที่จะจัดหาน้ำดิบสำหรับผลิตประปาให้ชุมชนได้ การแก้ปัญหา คือ การลงพื้นที่ดำเนินการแก้ไขตามจุดที่เกิดปัญหาในทันที เทศบาลก็ได้นำโครงการเกี่ยวกับระบบประปาของเทศบาลบรรจุในแผนพัฒนาสี่ปีเพื่อที่จะพิจารณาดำเนินการในปีต่อไป เมื่อมี
งบประมาณและความจำเป็นก็สามารถดำเนินโครงการได้ต่อเนื่องเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนต่อไป
ในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลจอมทองมีระบบประปาที่อยู่ในพื้นที่ให้บริการ ดังนี้
หน่วยบริการ |
กำลังการผลิต (ลบ.ม./ชม.) |
แหล่งน้ำดิบ |
พื้นที่การให้บริการ |
การประปาส่วนภูมิภาค สาขาจอมทอง (แม่ข่ายจอมทอง) |
100 |
แม่น้ำปิง |
อ.จอมทอง |
ประปาเทศบาลตำบลจอมทอง |
50 |
ลำน้ำแม่กลาง |
เขตเทศบาลตำบลจอมทอง |
ประปาหมู่บ้าน หมู่ 1 ต.บ้านหลวง |
|
แม่น้ำปิง |
หมู่ 1 ต.บ้านหลวง |
ประปาหมู่บ้าน หมู่ 2 ต.ดอยแก้ว |
|
ลำน้ำแม่กลาง |
หมู่ 1 ,2 ต.ดอยแก้ว |
นอกจากนี้ยังมีแหล่งน้ำดิบสำรองคือ อ่างเก็บน้ำหนองด้าง และอ่างเก็บน้ำ ห้วยต้นตึง รวมถึงมีการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคจากน้ำบาดาลบ่อน้ำตื้น ซึ่งประชาชนดำเนินการขุดเจาะเอง
(ข้อมูลการประปา ที่มา : การประปาส่วนภูมิภาค (www.pwa.co.th) และกองช่าง ทต.จอมทอง)
5.4 โทรศัพท์
(1) จำนวนโทรศัพท์สาธารณะในเขตพื้นที่ จำนวน 60 หมายเลข
(2) จำนวนโทรศัพท์ส่วนบุคคล จำนวน 1,500 หมายเลข
(3) จำนวนชุมสายโทรศัพท์จำนวน จำนวน 1 ชุมสาย
(4) ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข จำนวน 1 แห่ง
(5) สถานีวิทยุชุมชน จำนวน 2 แห่ง
5.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
(1) มีไปรษณีย์ จำนวน 1 แห่ง ให้บริการ เวลา 08.00 – 16.00 น. ในวันจันทร์ – เสาร์ (วันเสาร์ครึ่งวัน) หยุดวันอาทิตย์
6. ระบบเศรษฐกิจ
6.1 การเกษตร
ประชากรในเขตเทศบาล ร้อยละ 70 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ลำไย ถั่วเหลือง หอมแดง กระเทียม มันฝรั่ง ดังนี้
- อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 70 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
- อาชีพเลี้ยงสัตว์ ร้อยละ 13 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
- อาชีพรับจ้าง ร้อยละ 8 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
- อาชีพค้าขาย ร้อยละ 9 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
6.2 การประมง
(ในเขตเทศบาลไม่มีการประมง)
6.3 การปศุศัตว์
- เป็นการประกอบการในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือนเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงไก่ เป็ด โค สุกร กระบือ
6.4 การบริการ
1. สถานประกอบการด้านพาณิชยกรรม
1.1. สถานีบริการน้ำมัน จำนวน 10 แห่ง
1.2. ร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง จำนวน 4 แห่ง
1.3 ตลาดสด จำนวน 11 แห่ง