ประวัติไม้ค้ำสะหลี(ไม้ค้ำสรีมหาโพธิ์)
คำว่า”สะหลี” เป็นภาษาพื้นเมืองมาจากคำว่า”ศรี” ประวัติความเป็นมาของไม้ค้ำสะหลี หรือ ไม้ค้ำโพธิ์ มีเรืองเล่าว่าสมัยเมื่อ ครูบาปุ๊ด หรือ ครูบาพุทธิมาวังโส เจ้าอาวาสองค์ที่ 14 วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร นั้น ยามเดือนแปดเหนือ (เดือนพฤษภาคม) พ.ศ.๒๓๑๔ ได้เกิดลมพายุใหญ่พัดเอากิ่งไม้สะหลี (ต้นโพธิ์) ภายในวัดหักลงมา รุ่งเช้าครูบาจึงให้พระภิกษุ สามเณร และ เด็กวัดช่วยกันเก็บกวาดกิ่งไม้หักไปไว้นอกวัด ยามนั้นครูบาพุทธิมาวังโส หรือ ครูบาปุ๊ด เจ้าอาวาสให้นึกตกใจกลัวยิ่งนักกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งๆที่สมัย เจ้าอาวาสองค์ก่อนๆมี่เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นเลย ครูบาปุ๊ดคิดอย่างนั้นทำให้เครียดหนักขึ้นตกตอนกลางคืน ครูบาปุ๊ดเข้าจำวัด และ ก็เกิดนิมิตขึ้นว่า มีเทวดามาบอกว่าที่เกิดเหตุอาเพศลมพัดกิ่งไม้สะหลีหัก นั้น เป็น เพราะ ครูบาปุ๊ด ไม่ได้ตั้งใจปฎิบัติธรรมโดยเคร่งครัด จวบจนล่วงเวลาได้ ๒ เดือนก็ได้บรรลุธรรม อภิญญาณ สารถย่นย่อแผ่นดินได้ โดยีเร่องเล่าว่า ครูบาปุ๊ดไปบิณฑบาตรที่อำเภอแม่แจ่ม แล้วกลับมา ฉันข้าวทีวัด พระธาตุศรีจอมทองวรวิหารในเช้าววันนั้นเอง (โดยมีพยานหลักฐานเป็นเรืองเล่า มีพ่อค้าวัวต่าง ชาวแม่แจ่ม
สมัยโน้น ได้มาซื้อข้าวของ ค้าขาย แลกเกลือที่อำเภอจอมทอง เพื่อกลับไปขายยังอำเภอแม่แจ่ม ได้พบ
ครูบา ปุ๊ด เดินโผล่ออกมาจากป่า บริเวณบ้านหัวเสือพระบาท (หมู่บ้านเชิงดอยทางทิศตะวันตกของ อำเภอ จอมทองประมาณ ๗ กิโลเมตร) พวกเขาหุงข้าวเสร็จ พอเห็นพระภิกษุรูปหนึ่งเดินมา จึงนิมนต์รับบิณฑบาต
และ ได้ถามว่า “ท่านไปบิณฑบาตที่ไหนมาในป่าอย่างนี้” พระท่านได้ตอบว่า “ ไปบิณฑบาตแม่แจ่มมา ” พ่อค้าวัว “บ้านอะไรหรือครับท่าน”
พระตอบว่า “บ้านสันหนองนะโยม”
พระท่านได้เปิดฝาบาตรเพื่อให้พ่อค้าวัวต่าง ทำบุญใส่บาตร และทันใดนั้นพ่อค้าก็ได้เห็นข้าว ในบาตรพระ เป็นสีดำๆด่างๆ ก็รู้ว่าเป็นข้าวชั้นดี ซึ่งสมัยนั้นมีปลูกกันมากที่แม่แจ่มเท่านั้น ก็เข้าใจว่าคงจะเป็นบ้านเรา กระมัง พ่อค้าได้ถามพระครูบาอีกว่า “ คนลักษณะใดใส่บาตรครูบาขอรับ”
พระท่านก็ตอบว่า “ เป็นผู้หญิงคอออม( ออม หมายถึง พอง ปูด โปนออกมา)
พ่อค้าเอะใจ แต่ก็ไม่ได้พูดว่ากะไร หลังจากซื้อขายข้าวของเสร็จแล้วพ่อค้าก็เดินทางกลับบ้านแม่แจ่ม ครั้นเมื่อถึงบ้านจึงได้ถามภรรยาว่า”ได้เคยใส่บาตรพระบ้างไหม”
ภรรยาตอบว่า” เคยใส่บาตรพระเดินออกมาจากป่า”
พ่อค้าถาม “แล้วเอาอะไรละ”
ภรรยาตอบว่า “ เอาข้าวกล่ำใส่” (ข้าวหอมชนิดหนึ่งชาวบบ้านนิยมปลูกไว้ ทำขนมไปทำบุญที่วัด)
พ่อค้าถาม “ แล้ววันไหน พระเป็นคนเช่นใดล่ะ”
ภรรยาได้ตอบคำถาม ซึ่งตรงกับเป็นพระองค์เดียวกันกับพระที่พ่อค้าได้ใสบาตรในเช้าวันเดียวกันที่บ้านหัวเสือพระบาท อำเภอจอมทอง จึงได้รู้ว่า พระองค์นี้มีบุญบารมียิ่งนัก
พอท่านครูบาปุ๊ดได้ธรรมอภิญญาณแล้วก็มีสติปัญญาเกิดขึ้นตามลำดับ จึบได้วางแผนไว้ในใจ ในปีนี้พอถึงวันเข้าพรรษา ชาวบ้านตางมาทำบุญฟังเทศน์ที่วัดมากมาย ท่านจึงได้บอกเรื่องถึงเหตุการณ์ที่ไม้สะหลีหัก
ที่ประชุมจึงตกลงไว้ว่า ปีต่อไปประมาณเดือน ๗ (เดือนเมษายน) ให้ชาวบ้านไปตัดง่ามมาชวยกันค้ำกิ่งต้นไม้สะหลีเอาไว้กันลมพัดหักโค่นใน พ.ศ. ๒๓๑๕ นั้นเอง
ต่อมาครูบาปุ๊ด และชาวบ้านได้กำหนดให้มีประเพณีการทำบุญแห่ไม้ค้ำโพธิ์ หรือไม้ค้ำนะหลี ทุกปีในเดือน ๗ เหนือ หรือ เดือน เมษายน ซึ่งมีประเพณีดังนี้
วันที่ ๑๓ เมษายน เป็นวันสังขารล่องให้ชำระจิตใจ และ บ้านเรือนให้สะอาด
วันที่ ๑๔ เมษายน เป็นวันเนาว์ หรือ วันเน่า ห้ามพูดคำไม่ดี ไม่เป็นสิริมงคล ถือเป็นวันดา หรือวันเตรียม งานด้วยมีการขนทรายเข้าวัด
วันที่ ๑๕ เมษายน เป็นวันพญาวัน เป็นวันยิ่งใหญ่ กว่าวันใดๆมีการทำบุญใหญ่ เป็นวันแห่ไม้ค้ำสะหลี (แห่ไม้ค้ำโพธิ์ ) ซึ่งชาวจอมทองไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ต่างก็จะพากันกลับบ้านมารดน้ำดำหัวบุพพการี และ รวมแห่ไม้ค้ำสะหลีกันอย่างเนืองแน่น ถือเป็นประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์แหงแรกและ แห่งเดียวในประเทศไทยที่สืบทอดกันมาช้า นานนับสองร้อยกว่าปีมาแล้ว
วันที่ ๑๖ เมษายน เป็นวันปากปี ถือเป็นวันเริมศักราชใหม่ของชาวพื้นเมืองเหนือล้านนา
ประเพณีแห่ไม้ค้ำสะหลี หรือประเพณีปี๋ใหม่เมือง หรือประเพณีวันสงกรานต์ ถือเป็นวันทำบุญ ครั้งใหญ่ของชาวล้านนาการทำบุญที่วัด และให้บรรดาญาติผู้ใหญ่ตลอดจนถึงบรรพชนที่ลุล่วงลับดับขันธ์ไปนอกจากนี้ ครูบาปุ๊ดยังได้อบรมสั่งสอนให้ชาวบ้าน ถึง กุศโลบายการจัดประเพณีนี้โดยได้อานิสงค์หลายอย่าง เช่น
เป็นการค้ำไม้สะหลี(ต้นโพธิ์) ไม่ให้หักโค่นลงมา
เป็นการสืบชะตาวัด หมู่บ้านปละชาวเองให้เป็นสิริมคลอยู่ร่มเย็นเป็นสุข
เป็นการค้ำจุนสืบทอดพระพุทธศาสนาให้อยู่ยาวนานตลอด ถึง ๕,๐๐๐ พระวสา
เป็นรื่นเริงในหน้าแล้งซึ่งอากาศร้อนมากโดยมีพิธีรดน้ำดำหัว พักผ่อนในยามว่างานจากนั้นบรรดาเครือญาติจากที่ต่างๆ จะมารวมตัวพบปะสังสรรค์กัน ถือวาเป็นวันครอบครัวของชาวล้านนาจอมทองอีกด้วย
สำหรับผู้ที่เล่าสืบต่อมา คือ ครูบามหาวัน เจ้าอาวาสองค์ที่ ๑๕ ซึ่งขณะนั้นเป็นสามเณรน้อยอายุ
ประมาณ ๑๐ -๑๑ ขวบ อยู่ในเหตุการณ์ด้วยครูบายะ หรือ ครูบาพุทธศาสตร์ สุประดิษฐ์
เจ้าอาวาสองค์ที่ ๑๖ ผู้สร้างกุฎิไม้หลังใหญ่(โฮงหลวง)
ตุ๊พ่อตั๋น สังวโร พระเถระผู้ใหญ่สมัยทานพระครูสุวิทยธรรม เจ้าอาวาสองค์ที่ ๑๗
พ่อหนานศรีทน ยศถามี มัคยนายก วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ยังได้เล่าอีกว่าตอนนั้นนอกจากกิ่งไม้สะหลีได้หักโค่นลงมาแล้ว ยังเกิดเหตุพระธาตุจอมทองได้หายจากผอบทองคำในมณฑปอีกด้วย ซึงต่อมาก็ได้เสด็จกลับมาประดิษฐานยังมณพป หรือ ประสาทชมปูดังเดิม
ตำนานไม้ค้ำสะหลีก็จบแค่นี้ก่อนแล
อาจารย์ เพชร แสนใจบาล
๑๕ สิงหาคม ๒๕๔๙
ข้อมูลจาก http://chomtong.com/html/maikumpo.html